มาทำวามรู้จักอาเซียนกันเถอะ

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเงินตรา

AEC (ASEAN Economic Community) หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นคำที่ได้ยินเคียงคู่มากับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 อยู่เสมอ เพราะ AEC นั้นเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียนนั่นเอง โดยจะมีความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ของทั้ง 10 ประเทศในประชาคมอาเซียน
      
        เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ลองมาดูกันหน่อยว่า เพื่อนบ้านแต่ละประเทศนั้นเขามีการใช้เงินสกุลอะไร อัตราแลกเปลี่ยนเท่าไหร่ และหน้าตาของธนบัตรเป็นอย่างไรบ้าง
      
        เริ่มจากที่บ้านเรา ประเทศไทย ใช้สกุลเงิน “บาท” (Thai Baht : THB) โดยเหรียญกษาปณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีทั้งหมด 9 ชนิด คือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น ส่วนธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบันและมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง มี 5 ชนิด คือ ธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1,000 บาท
ธนบัตร 10,000 ดอลลาร์บรูไน
                ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม หรือ เนการา บรูไน ดารุสซาลาม ใช้สกุลเงิน “ดอลลาร์บรูไน” (Brunei Dollar : BND) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ดอลลาร์บรูไน เท่ากับประมาณ 25 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์, 10 ดอลลาร์, 20 ดอลลาร์, 25 ดอลลาร์, 50 ดอลลาร์, 100 ดอลลาร์, 500 ดอลลาร์, 1,000 ดอลลาร์ และ 10,000 ดอลลาร์
ธนบัตร 1,000 เรียล
                ประเทศกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรกัมพูชา ใช้สกุลเงิน “เรียล” (Cambodian Riel : KHR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 127 เรียล เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 เรียล, 100 เรียล, 200 เรียล, 500 เรียล, 1,000 เรียล, 2,000 เรียล, 5,000 เรียล, 10,000 เรียล, 20,000 เรียล, 50,000 เรียล และ 100,000 เรียล
ธนบัตร 100,000 รูเปียห์
                ประเทศอินโดนีเซีย หรือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ใช้สกุลเงิน “รูเปียห์” (Indonesian Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1,000 รูเปียห์ เท่ากับประมาณ 3 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1,000 รูเปียห์, 2,000 รูเปียห์, 5,000 รูเปียห์, 10,000 รูเปียห์, 20,000 รูเปียห์, 50,000 รูเปียห์ และ 100,000 รูเปียห์
ธนบัตร 50,000 กีบ
                ประเทศลาว หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้สกุลเงิน “กีบ” (Lao Kip : LAK) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1,000 กีบ เท่ากับประมาณ 4 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 500 กีบ, 1,000 กีบ, 2,000 กีบ, 5,000 กีบ, 10,000 กีบ, 20,000 กีบ และ 50,000 กีบ
ธนบัตร 100 ริงกิต
                ประเทศมาเลเซีย ใช้สกุลเงิน “ริงกิต” (Malaysian Ringgit : MYR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ริงกิต เท่ากับประมาณ 10 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ริงกิต, 5 ริงกิต, 10 ริงกิต, 20 ริงกิต, 50 ริงกิต และ 100 ริงกิต
ธนบัตร 1,000 จ๊าด
                ประเทศพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้สกุลเงิน “จ๊าด” (Myanmar Kyat : MMK) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 26 จ๊าด เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 ปยา, 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 20 จ๊าด, 50 จ๊าด, 100 จ๊าด, 200 จ๊าด, 500 จ๊าด, 1,000 จ๊าด , 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด
ธนบัตร 1,000 เปโซ
                ประเทศฟิลิปปินส์ หรือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใช้สกุลเงิน “เปโซ” (Philippine Peso : PHP) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1.40 เปโซ เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 20 เปโซ, 50 เปโซ, 100 เปโซ, 200 เปโซ, 500 เปโซ และ 1,000 เปโซ
ธนบัตร 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
                ประเทศสิงคโปร์ หรือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ใช้สกุลเงิน “ดอลลาร์สิงคโปร์” (Singapore Dollar : SGD) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เท่ากับประมาณ 25 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 2 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์, 10 ดอลลาร์, 50 ดอลลาร์, 100 ดอลลาร์, 1,000 ดอลลาร์ และ 10,000 ดอลลาร์
ธนบัตร 100,000 ด่ง
                ประเทศเวียดนาม หรือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใช้สกุลเงิน “ด่ง” หรือ “ดอง” (Vietnamese Dong : VND) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 652 ด่ง เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1,000 ด่ง 2,000 ด่ง 5,000 ด่ง 10,000 20,000 ด่ง 50,000 ด่ง 100,000 ด่ง 200,000 ด่ง และ 500,000 ด่ง

วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อาหารของประเทศสมาชิก

ประเทศไทย (Thailand) : ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong)
ต้มยำกุ้ง (Tom Yam Goong) เป็นอาหารที่โด่งดังมากที่สุดของประเทศไทย ชาวต่างชาติจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่น ๆ การปรุงต้มยำกุ้งจะเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย มีเครื่องเทศที่ใส่ในน้ำแกงที่สำคัญคือ ใบมะกรูด ตะไคร้ ส่วนผักที่นิยมใส่ในต้มยำ ได้แก่ มะเขือเทศ เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า ใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำเป็นต้องใส่ คือ มะนาว น้ำปลา น้ำตาล และน้ำพริกเผา
เวียดนาม (Vietnam) : Nem หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม
Nem หรือ เปาะเปี๊ยะเวียดนาม เป็นอาหารพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเวียดนาม แผ่นเปาะเปี๊ยะทำจากแผ่นแป้งที่ทำจากข้าวเจ้า โดยไส้เปาะเปี๊ยะอาจเป็นไก่ หมู กุ้ง ห่อรวมกับผักต่าง ๆ นับเป็นอาหารยอดนิยมที่สามารถรับประทานได้ทั่วไปในเวียดนาม
ลาว (Loas) : ซุบไก่ (Chicken Soup) 
ซุบไก่ (Chicken Soup) เป็นอาหารพื้นเมืองของประเทศลาว มีส่วนผสมในการประกอบอาหาร คือ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม และหอมแดง ทั้งนี้ อาหารลาวโดยส่วนใหญ่มักจะมีผักและสมุนไพรเป็นส่วนผสมในการปรุง 
กัมพูชา (Cambodia) : อาม็อก (Amok)
อาม็อก (Amok) มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย ทำจากปลา น้ำพริก เครื่องแกงและกะทิ อาม็อก เป็นหนึ่งในอาหารยอดนิยมของกัมพูชา
มาเลเซีย (Malaysia) : นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak)
นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) อาหารยอดนิยมของประเทศมาเลเซีย เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร นาซิ เลอมัก เสิร์ฟพร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุกและถั่วอบ นาซิ เลอมัก แบบดั้งเดิม จะห่อในใบตองและรับประทานเป็นอาหารเช้า
พม่า (Myanmar) : หล่าเพ็ด (Lahpet)
หล่าเพ็ด (Lahpet) อาหารประจำชาติของพม่าที่มีลักษณะคล้ายกับยำเมี่ยงของไทย โดยรับประทานกับเครื่องเคียง เช่น ใบชาหมัก กระเทียมเจียว ถั่วชนิดต่าง ๆ งาคั่ว กุ้งแห้ง ขิง มะพร้าวคั่ว เป็นต้น 
ฟิลิปปินส์ (Philippines) : อโดโบ้ (Adobo)
อโดโบ้ (Adobo) อาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ เป็นอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากภาคเหนือของฟิลิปปินส์และเป็นที่นิยมของนัก เดินทางหรือนักเดินเขา อโดโบ้ทำจากหมูหรือไก่ที่ผ่านกรรมวิธีหมักและปรุงรสโดยจะใส่ซีอิ๊วขาว น้ำส้มสายชู กระเทียมสับ ใบกระวาน พริกไทยดำ นำไป ทำให้สุกโดยใส่ในเตาอบหรือทอด และรับประทานกับข้าว
สิงคโปร์ (Singapore) : ลักสา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ)
ลักสา (Laksa) เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) มีลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย โดยเส้นก๋วยเตี๋ยวจะมีลักษณะคล้าย vermicelli ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นสปาเกตตีของอิตาลี
อินโดนีเซีย (Indonesia) : กาโด กาโด (Gado Gado)
กาโด กาโด (Gado Gado) อาหารยอดนิยมของอินโดนีเซียคล้ายกับสลัดแขก ซึ่งจะประกอบด้วยถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่วที่มีลักษณะเหมือนซอสสะเต๊ะ 
บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) : อัมบูยัต (Ambuyat)
อัมบูยัต (Ambuyat) จัดเป็นอาหารประจำชาติ ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศบรูไน ดารุสซาลาม มีลักษณะคล้ายข้าวต้ม หรือโจ๊ก มีส่วนผสมของแป้งสาคูเป็นหลัก โดยทั่วไปอัมบูยัต คือ อาหารที่รับประทานแทนข้าว โดยจะมีอาหารจานหลักและเครื่องเคียงอย่างน้อย 3 อย่าง วางอยู่โดยรอบ 

วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

8 อาชีพที่สามารถ ทำงานได้อย่างเสรีใน 10 ประเทศอาเซียน


8 อาชีพที่สามารถ ทำงานได้อย่างเสรีใน 10 ประเทศอาเซียน
            ผลจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้าน คุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ด้านคุณสมบัติในสาขาอาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย นักวิชาชีพ แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษได้อย่างเสรี ข้อตกลงเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน ฝีมือไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้อย่างเสรี ได้กำหนดครอบคลุม 8 อาชีพ และก็มีข่าวว่าอาจจะมีการเพิ่มจำนวนอาชีพขึ้นมาอีกในลำดับถัดไป สำหรับ 8 อาชีพที่มีข้อตกลงกันแล้วให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรี ได้แก่

            -  อาชีพวิศวกร  (Engineering Services)
            -  อาชีพพยาบาล  (Nursing Services)
            -  อาชีพสถาปนิก  (Architectural Services)
            -  อาชีพการสารวจ  (Surveying Qualifications)         
            -  อาชีพนักบัญชี  (Accountancy Services)
            -  อาชีพทันตแพทย์  (Dental Practitioners)
            -  อาชีพแพทย์  (Medical Practitioners)
            -  อาชีพการบริการ/การท่องเที่ยว  (Tourism)

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)

ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจาก AEC (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)

           ประชาคมอาเซียนที่จะถือกำเนิดในปี 2558 นั้น คนไทยจะได้ประโยชน์อะไร แน่นอนเราคงอยากทราบ แต่ในชั้นนี้ขอจำกัดเฉพาะทางเศรษฐกิจก่อน
              ประการแรก ไทยจะ “มีหน้ามีตาและฐานะ” เด่นขึ้นประชาคมอาเซียนจะทำให้เศรษฐกิจ “ของเรา” มีมูลค่ารวมกัน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีขนาดใหญ่อันดับ 9 ของโลก ยังประโยชน์แก่คนไทยทุกคนที่จะได้ยืนอย่างสง่างาม “ยิ้มสยาม” จะคมชัดขึ้น
              ประการที่สอง การค้าระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนจะคล่องและขยายตัวมากขึ้น กำแพงภาษีจะลดลงจนเกือบจะหมดไป เพราะ 10 ตลาดกลายเป็นตลาดเดียว ผู้ผลิตจะส่งสินค้าไปขายในตลาดนี้และขยับขยายธุรกิจของตนง่ายขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกมากขึ้นราคาสินค้าจะถูกลง
              ประการที่สาม ตลาดของเราจะใหญ่ขึ้น แทนที่จะเป็นตลาดของคน 67 ล้านคน ก็จะกลายเป็นตลาดของคน 590 ล้านคน ซึ่งจะทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจ เพราะสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยสามารถส่งออกไปยังอีกเก้าประเทศได้ราวกับส่งไปขายต่างจังหวัด ซึ่งก็จะช่วยให้เราสามารถแข่งขันกับจีนและอินเดียในการดึงดูดการลงทุนได้มากขึ้น
              ประการที่สี่ความเป็นประชาคมจะทำให้มีการพัฒนาเครือข่ายการสื่อสารคมนาคมระหว่างกันเพื่อประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุน แต่ก็ยังผลพลอยได้ในแง่การไปมาหาสู่กัน ซึ่งก็จะช่วยให้คนในอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์กัน รู้จักกัน และสนิทแน่นแฟ้นกันมากขึ้น เป็นผลดีต่อสันติสุข ความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกันโดยรวม นับเป็นผลทางสร้างสรรค์ในหลายมิติด้วยกัน
              ประการที่ห้า โดยที่ ไทยตั้งอยู่ในจุดกึ่งกลางบนภาคพื้นแผ่นดินใหญ่อาเซียน ประเทศไทยย่อมได้รับประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่งที่จะเพิ่มขึ้นในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับจีน (และอินเดีย) มากยิ่งกว่าประเทศอื่นๆ
บริษัทด้านขนส่ง คลังสินค้า ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ จะได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน จริงอยู่ ประชาคมอาเซียนจะยังผลทั้งด้านบวกและลบต่อประเทศไทย ขึ้นอยู่กับพวกเราคนไทยจะเตรียมตัวอย่างไร แต่ผลทางบวกนั้นจะชัดเจน เป็นรูปธรรมและจับต้องได้