มาทำวามรู้จักอาเซียนกันเถอะ

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

 อาเซียน

 อาเซียน (ASEAN) เป็นการรวมตัวกันของ  10  ประเทศ   ในทวีปเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้  ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฎิญญาว่าด้วย  ความร่วมมืออาเซียนเห็นชอบ ให้จัดตั้ง  ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)    คือ   เป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย   มาเลเซีย และฟิลิปปินส์   ได้ร่วมกันจัดตั้ง   สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504   เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ  สังคมและวัฒนธรรม  แต่  ดำเนินการ ไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง  เนื่องจากความผกผันทางการเมือง ระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ 



          จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง และสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ในปีนั้นเองจะมีการเปิดกว้างให้ประชาชนในแต่ละประเทศสามารถเข้าไปทำงานในประเทศ  อื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้อย่างเสรี   เสมือนดังเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการมีงานทำของคนไทย ควรทำความ
เข้าใจในเรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน
animated,display picture,display pictures,picture.graphic,paint.picture,displays,logo design,animate,graphics,background,cartooning,flash,images,ภาพเคลื่อนไหว ,ภาพเคลื่อนไหวน่ารักๆ,ภาพดุ๊กดิ๊ก





ความเป็นมาของอาเซียน
              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (Association  of  Southeast  Asian  Nations  หรือ  ASEAN)  ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ  (Bangkok  Declaration)  หรือ  ปฏิญญาอาเซียน  (ASEAN  Declaration)  เมื่อวันที่  8  สิงหาคม  2510  โดยมีประเทศสมาชิก  5  ประเทศ  ประกอบด้วย  อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  และไทย
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง  เศรษฐกิจและสังคม  ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติม  ได้แก่  บรูไนดารุส-ซาลาม   เวียดนาม   ลาว   เมียนมาร์  และกัมพูชา  ตามลำดับ   จึงทำให้ปัจจุบันอาเซียน   มีสมาชิก  10  ประเทศ




อัตลักษณ์อาเซียน             อาเซียนจะต้องส่งเสริมอัตลักษณ์ร่วมกันของตนและความรู้สึกเป็นเจ้าของในหมู่ประชาชนของตน  เพื่อให้บรรลุชะตา  เป้าหมาย  และคุณค่าร่วมกันของอาเซียน


วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

animated,display picture,display pictures,picture.graphic,paint.picture,displays,logo design,animate,graphics,background,cartooning,flash,images,ภาพเคลื่อนไหว ,ภาพเคลื่อนไหวน่ารักๆ,ภาพดุ๊กดิ๊ก

                                                        

สัญลักษณ์อาเซียน
              รูปมัดรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นวงกลม
              สีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาว  และสีน้ำเงิน
              รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ  ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
              วงกลม  เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงเอกภาพของอาเซียน
              ตัวอักษรคำว่า  asean  สีน้ำเงิน  อยู่ใต้ภาพรวงข้าว  แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง  สันติภพ  เอกภาพ  และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน
              สีเหลือง    :   หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
              สีแดง       :    หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
              สีขาว       :    หมายถึง ความบริสุทธิ์
              สีน้ำเงิน    :    หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง



ธงอาเซียน 
              ธงอาเซียนเป็นธงพื้นสีน้ำเงิน  มีดวงตราอาเซียนอยู่ตรงกลาง  แสดงถึงเสถียรภาพ  สันติภาพ  ความสามัคคี  และพลวัตของอาเซียน
สีของธงประกอบด้วย  สีน้ำเงิน  สีแดง  สีขาว  และสีเหลือง  ซึ่งเป็นสีหลักในธงชาติของบรรดาประเทศสมาชิกของอาเซียนทั้งหมด

วันอาเซียน 
              ให้วันที่  8  สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันอาเซียน

เพลงประจำอาเซียน (ASEAN  Anthem) 
              คือ  เพลง  ASEAN  WAY


วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อาเซียน+3


          อาเซียน+3

   อาเซียน +3 ประกอบด้วยสมาชิก 13 ชาติ คือ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน รวมกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งมีประชากรรวมทั้งสิ้นกว่า 2,000 ล้านคน หรือหนึ่งในสามของประชากรโลก แต่เมื่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เข้าด้วยกัน จะทำให้มีมูลค่าถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณร้อยละ 16 ของจีดีพีโลก ขณะที่ยอดเงินสำรองต่างประเทศรวมกันจะสูงถึง 3.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐซึ่งมากกว่ากึ่งหนึ่งของเงินสำรองต่างประเทศของโลก โดยตัวเลขทางเศรษฐกิจเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาเซียน+3 จะมีบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความก้าวหน้าต่อไปในอนาคต 














กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 (ASEAN+3) เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่ม 3 ประเทศ คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งชุมชนเอเชียตะวันออก (East Asian Community) โดยให้อาเซียนและกระบวนการต่างๆ ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน+3 เป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการจัดตั้งกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามเมื่อปี 
2007 (พ.ศ.2550) 
กวนๆ ขำๆกวนๆ ขำๆกวนๆ ขำๆกวนๆ ขำๆกวนๆ ขำๆกวนๆ ขำๆกวนๆ ขำๆกวนๆ ขำๆกวนๆ ขำๆ

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

อาเซียน+6

                      อาเซียน+6

     สำหรับ "อาเซียน +6" ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก 6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียวการรวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น

กวนๆ ขำๆ
        ที่มาของแนวคิด "อาเซียน +6" นี้ เริ่มขึ้นครั้งแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)

กวนๆ ขำๆกวนๆ ขำๆ

วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2558

จุดประสงค์หลักของอาเซียน

จุดประสงค์หลักของอาเซียน
              ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
              1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
              2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
              3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
              4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
              5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
              6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
              7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ  และองค์การระหว่างประเทศ



ภาษาอาเซียน               ภาษาทางการที่ใช้ในการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก  คือ  ภาษาอังกฤษ

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558

คำขวัญของอาเซียน&กฎบัตรอาเซียน

คำขวัญของอาเซียน
                                                        
"หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม”
                                           (One Vision, One Identity, One Community)


กฎบัตรอาเซียน 
              กฎบัตรอาเซียน  กำหนดให้อาเซียนและประเทศสมาชิกปฏิบัติตามหลักการดังต่อไปนี้
              1.  เคารพเอกราช  อธิปไตย  ความเสมอภาค  บูรณภาพแห่งดินแดน  และอัตลักษณ์แห่งชาติของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งปวง
              2.  ผูกพันและรับผิดชอบร่วมกันในการเพิ่มพูนสันติภาพ  ความมั่นคง  และความมั่งคั่งของภูมิภาค
              3.  ไม่รุกรานหรือข่มขู่ว่าจะใช้กำลังหรือการกระทำอื่นใดในลักษณะที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ
              4.  ระงับข้อพิพาทโดยสันติ
              5.  ไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิกอาเซียน
              6.  เคารพสิทธิของรัฐสมาชิกทุกรัฐในการธำรงประชาชาติของตนโดยปราศจากการแทรกแซง  การบ่อนทำลาย  และการบังคับจากภายนอก
              7.  ปรึกษาหารือที่เพิ่มพูนขึ้นในเรื่องที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อผลประโยชน์ร่วมกันของอาเซียน
              8.  ยึดมั่นต่อหลักนิติธรรม  ธรรมาภิบาล  หลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญ
              9.  เคารพเสรีภาพพื้นฐาน  การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  และการส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม
              10.  ยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ    รวมถึงกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ  ที่  รัฐสมาชิกอาเซียนยอมรับ
              11.  ละเว้นจากการมีส่วนร่วมในการคุกคามอธิปไตย  บูรณภาพแห่งดินแดนหรือเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกอาเซียน
              12. เคารพในวัฒนธรรม  ภาษา  และศาสนาที่แตกต่างของประชาชนอาเซียน
              13.  มีส่วนร่วมกับอาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์กับภายนอกทั้งในด้านการเมือง  เศรษฐกิจ  และสังคม  โดยไม่ปิดกั้นและไม่เลือกปฏิบัติ
              14. ยึดมั่นในกฎการค้าพหุภาคีและระบอบของอาเซียน

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเงินตรา

AEC (ASEAN Economic Community) หรือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นคำที่ได้ยินเคียงคู่มากับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 อยู่เสมอ เพราะ AEC นั้นเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียนนั่นเอง โดยจะมีความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ของทั้ง 10 ประเทศในประชาคมอาเซียน
      
        เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ลองมาดูกันหน่อยว่า เพื่อนบ้านแต่ละประเทศนั้นเขามีการใช้เงินสกุลอะไร อัตราแลกเปลี่ยนเท่าไหร่ และหน้าตาของธนบัตรเป็นอย่างไรบ้าง
      
        เริ่มจากที่บ้านเรา ประเทศไทย ใช้สกุลเงิน “บาท” (Thai Baht : THB) โดยเหรียญกษาปณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีทั้งหมด 9 ชนิด คือ เหรียญ 1, 5, 10, 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท โดยเหรียญ 25 และ 50 สตางค์, 1, 2, 5 และ 10 บาท เป็นเหรียญที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป ส่วนเหรียญ 1, 5 และ 10 สตางค์ ไม่ได้ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ใช้ภายในธนาคารเท่านั้น ส่วนธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบันและมีการผลิตอย่างต่อเนื่อง มี 5 ชนิด คือ ธนบัตร 20, 50, 100, 500 และ 1,000 บาท
ธนบัตร 10,000 ดอลลาร์บรูไน
                ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม หรือ เนการา บรูไน ดารุสซาลาม ใช้สกุลเงิน “ดอลลาร์บรูไน” (Brunei Dollar : BND) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ดอลลาร์บรูไน เท่ากับประมาณ 25 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์, 10 ดอลลาร์, 20 ดอลลาร์, 25 ดอลลาร์, 50 ดอลลาร์, 100 ดอลลาร์, 500 ดอลลาร์, 1,000 ดอลลาร์ และ 10,000 ดอลลาร์
ธนบัตร 1,000 เรียล
                ประเทศกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรกัมพูชา ใช้สกุลเงิน “เรียล” (Cambodian Riel : KHR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 127 เรียล เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 เรียล, 100 เรียล, 200 เรียล, 500 เรียล, 1,000 เรียล, 2,000 เรียล, 5,000 เรียล, 10,000 เรียล, 20,000 เรียล, 50,000 เรียล และ 100,000 เรียล
ธนบัตร 100,000 รูเปียห์
                ประเทศอินโดนีเซีย หรือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ใช้สกุลเงิน “รูเปียห์” (Indonesian Rupiah : IDR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1,000 รูเปียห์ เท่ากับประมาณ 3 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1,000 รูเปียห์, 2,000 รูเปียห์, 5,000 รูเปียห์, 10,000 รูเปียห์, 20,000 รูเปียห์, 50,000 รูเปียห์ และ 100,000 รูเปียห์
ธนบัตร 50,000 กีบ
                ประเทศลาว หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ใช้สกุลเงิน “กีบ” (Lao Kip : LAK) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1,000 กีบ เท่ากับประมาณ 4 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 500 กีบ, 1,000 กีบ, 2,000 กีบ, 5,000 กีบ, 10,000 กีบ, 20,000 กีบ และ 50,000 กีบ
ธนบัตร 100 ริงกิต
                ประเทศมาเลเซีย ใช้สกุลเงิน “ริงกิต” (Malaysian Ringgit : MYR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ริงกิต เท่ากับประมาณ 10 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1 ริงกิต, 5 ริงกิต, 10 ริงกิต, 20 ริงกิต, 50 ริงกิต และ 100 ริงกิต
ธนบัตร 1,000 จ๊าด
                ประเทศพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า ใช้สกุลเงิน “จ๊าด” (Myanmar Kyat : MMK) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 26 จ๊าด เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 50 ปยา, 1 จ๊าด, 5 จ๊าด, 20 จ๊าด, 50 จ๊าด, 100 จ๊าด, 200 จ๊าด, 500 จ๊าด, 1,000 จ๊าด , 5,000 จ๊าด และ 10,000 จ๊าด
ธนบัตร 1,000 เปโซ
                ประเทศฟิลิปปินส์ หรือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ใช้สกุลเงิน “เปโซ” (Philippine Peso : PHP) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1.40 เปโซ เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 20 เปโซ, 50 เปโซ, 100 เปโซ, 200 เปโซ, 500 เปโซ และ 1,000 เปโซ
ธนบัตร 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
                ประเทศสิงคโปร์ หรือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ใช้สกุลเงิน “ดอลลาร์สิงคโปร์” (Singapore Dollar : SGD) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 1 ดอลลาร์สิงคโปร์ เท่ากับประมาณ 25 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 2 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์, 10 ดอลลาร์, 50 ดอลลาร์, 100 ดอลลาร์, 1,000 ดอลลาร์ และ 10,000 ดอลลาร์
ธนบัตร 100,000 ด่ง
                ประเทศเวียดนาม หรือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใช้สกุลเงิน “ด่ง” หรือ “ดอง” (Vietnamese Dong : VND) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน 652 ด่ง เท่ากับประมาณ 1 บาท (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนในขณะนั้น) ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 1,000 ด่ง 2,000 ด่ง 5,000 ด่ง 10,000 20,000 ด่ง 50,000 ด่ง 100,000 ด่ง 200,000 ด่ง และ 500,000 ด่ง